สรุปวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐานวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
นิตยา ประพฤติกิจ (2541: 17 – 19) ได้กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ ในระดับ ปฐมวัยควรประกอบด้วยทักษะ ดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็น การนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลําดับตั้งแต่ 1 – 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจําวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกบั ตวั เลขให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมี การเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วยเช่นมากกว่าน้อยกว่าฯลฯ
3. การจับคู่(Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และ จับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท(Classification)เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศยั ความสัมพันธ์ ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คําศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลําดับ(Ordering)เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคําสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลําดับจากสูงไปต่ำหรือ จากสั้นไปยาว ฯลฯ
7. รูปทรงหรือเนื้อที่(ShapeandSpace)นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง
และเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด(Measurement)มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จัดความยาวและระยะ รู้จักการชั่งนํ้าหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร้าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรใหเเด็ก ได้ฝึกฝน การเปรียบเทียบ และการจัดลําดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่ายๆ จากสิ่งรอบๆ ตัว มีการเชอื่ มโยงกบั สภาพรวมเช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือว่าเป็นหนึ่งเซตหรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภทแยกเป็น เซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจําช้ัน ครูช่วยสอนเป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักเริ่มในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แตาครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม(TheWholeObject)ให้เด็กเห็นก่อนมีการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมาย และมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่ง
11. การทําตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจํารูปแบบ หรือลวดลาย และพัฒนาการจําแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกการสังเกต ฝคกทําตามแบบและต่อให้สมบรูณ์
12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป
ครูอาจเร่ิมสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ้งหมายของการสอนเรื่องนี้ ก็คือเด็กได้มีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า จะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตมีทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือ ปฏิบัติกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัส การเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดวางแผนริเริ่มและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง โดยออกแบบผลงาน ตามความคิดจากสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย ในแตาละกิจกรรม เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งเร้าเป็นรูปธรรม ไดเลงมือปฏิบัตกิจกรรมด้วยตนเอง นอกจากนั้น ความสามารถในการสังเกตจําแนกเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ว่าเหมือนหรือตาางกันอยาางไรในเรื่องของปริมาณ ขนาด รูปร่าง สี และรูปทรงเป็นทักษะที่ต้องอาศัยทักษะการสังเกตโดยการใช้ประสาทสัมผัสของเด็ก ในการเรียนรู้จากสื่อประเภทต่างๆ
กลุ่มตัวอย่าง:เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ชั้นอนุบาล3